พาชมโรงงานผลิตสบู่ ครีม เครื่องสำอาง สกินแคร์ OEM ครบวงจร WISE PLUS GROW

Image
เชื่อว่าทุกคนมีความฝัน บางคนอยากจะเป็นเจ้าของธุรกิจส่วนตัว บางคนอยากจะมีตำแหน่งการงานที่มั่นคง ไม่ว่าฝันจะเป็นอย่างไร แต่ถ้าไม่ได้ลงมือทำก็คงไร้ความหมาย มี่เองก็มีความฝันอยากจะมีธุรกิจเป็นของตัวเองเหมือนกันค่ะ ส่วนตัวเป็นคนที่ชอบลองสกินแคร์ใหม่ๆมากเลย จากที่ได้ลองใช้มาหลายผลิตภัณฑ์ ก็ทำให้เราอยากจะลองทำผลิตภัณฑ์ดูแลผิวขึ้นมาเองบ้าง วันนี้มี่เลยจะมาแนะนำโรงงานผลิตสบู่ ครีม เครื่องสำอาง และสกินแคร์ OEM ที่เราสามารถสร้างแบรนด์ตัวเองได้ ให้บริการครบวงจร ตั้งแต่ช่วยคิดสูตรครีม ช่วยออกแบบผลิตภัณฑ์ และยื่นขอคำรับรองจาก อย . และขั้นตอนต่างๆอีกมากมาย ครบจบแค่ที่เดียว สะดวกสบาย รวดเร็ว และได้คุณภาพ ถ้าอยากรู้ว่าเป็นที่ไหน ไปชมกันเลยค่ะ WISE PLUS GROW บริษัทไวส์พลัสโกร จำกัด     บริษัท WISE PLUS GROW โรงงานผลิตสินค้า OEM (Original Equipment Manufacturer)  และ (ODM Original Design Manufacturer) ที่ให้บริการครบครัน ทั้งผลิตสบู่ ครีม เครื่องสำอาง สกินแคร์ แบรนด์ตัวเอง แบบ one stop service ที่มาที่เดียว ก็สามารถผลิตสินค้าแบรนด์ตัวเองได้แล้วค่ะ   WISE PLUS GROW CO

แก้วเอนกประสงค์ ฮอกไกโดโคบุชิยากิ ประเทศญี่ปุ่น!!! (Hokkaido Kobushi-gama)

    วันนี้ผลิตภัณฑ์ที่จะนำมารีวิว มีประวัติมายาวนาน สั่งสมมากับวัฒนธรรม และวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของคนญี่ปุ่นสมัยก่อน ทำให้ได้เป็นผลิตภัณฑ์ที่ทรงคุณค่าขึ้นมา ผลิตภัณฑ์ที่จะนำมารีวิววันนี้ก็คือ...

Hokkaido Kobushiyaki Cups

แก้วเอนกประสงค์ ฮอกไกโด โคบุชิยากิ

    แก้วเอนกประสงค์ หนึ่งเดียวในโลก! เป็นแก้วน้ำ handmade ที่สร้างขึ้นมาจากวัตถุดิบในเมืองฮอกไกโด ผ่านเตาเผา Kobushi ซึ่งเป็นเตาเผาที่มีชื่อมาจากดอก "โคบุชิ" ซึ่งเป็นดอกไม้ที่แสดงถึงการมาเยือนของฤดูใบไม้ผลิในภาคเหนือ เรียกได้ว่า ภาคกลาง มีดอกซากุระ ภาคเหนือ ก็มีดอกโคบุชิ ที่เป็นสัญลักษณ์การมาเยือนของฤดูใบไม้ผลิ

   จุดเด่นของแก้วเอนกประสงค์ โคบุชิยากินี้ คือ ความมหนา และเนื้อนุ่มของเครื่องปั้นดินเผา แต่ละชิ้นทำด้วยมือ เพื่อให้ได้รูปทรง, ขนาด และเฉดสีที่เหมือนกัน นอกจากนี้ยังทำขึ้นจากความตั้งใจของช่างฝีมือผู้เชี่ยวชาญแห่งเมืองฮอกไกโด... 

    แก้วน้ำมี 2 สี คือ สีน้ำเงิน และสีแดง...ซึ่งทั้ง 2 สีนี้เป็นสีเคลือบออริจินัล 

สีน้ำเงินที่ไล่เฉดสี ที่เป็นสัญลักษณ์ของการเผาแบบโคบุชิยากิ เรียกว่า "NamokoYu" คือ การเคลือบเงาเครื่องดินเผาชนิดหนึ่ง และสีฟ้าที่แสดงออกมานี้ ทำให้นึกถึงสีของบ่อน้ำสีฟ้าของเมือง Biei และทะเล Sekitan จึงเรียกสีฟ้านี้ว่า Sekitan Blue... ด้านในของแก้วน้ำ เป็นสีน้ำเงิน เหมือนลายด้านนอก ซึ่งต่างกับแก้วสีแดง ที่ด้านในเคลือบใส จึงเห็นเป็นสีเบสของเครื่องปั้นดินเผา




สีแดงสด เรียกว่า ShinshaYu (การเคลือบเงาเครื่องดินเผาชนิดหนึ่ง) 



  มาทำความรู้จักการเคลือบ "NamokoYu" (นามาโกะยู) กันหน่อยค่ะ... NamokoYu เป็นการเคลือบที่เป็นสัญลักษณ์ของการเผาด้วยเตา Kobushi ซึ่งทุกคนรู้จักกันในนาม "Kobushiyaki" (โคบุชิยากิ)




 ประวัติความเป็ฯมาของเตาเผา Kobushiyaki

  เตาเผา Kobushiyaki ถูกสร้างขึ้นหลังสงครามไม่นานในKamishifumi เมือง Iwamizawa และได้มีการทดลองเคลือบหลายแบบ ปรากฏว่าไม่สำเร็จ เนื่องจากมีอุปสรรคต่างๆ เช่น ความยากลำบากในการหาวัตถุดิบ, การขาดอุปกรณ์เครื่องมือ และความไม่สมบูรณ์ของโครงสร้างเตาเผา ทำให้ช่างฝีมือในสมันนั้น ต้องหาวิธีเคลือบและสีเคลือบอย่างยากลำบาก... ถึงแม้จะมีสถานการณ์เลวร้ายเช่นนั้น แต่ในที่สุดช่างฝีมือก็สามารถหาวิธีการเคลือบที่ได้สีมั่นคง สม่ำเสมอ นั่นก็คือ การเคลือบแบบ NamakoYu (นามาโกะยู) จึงทำให้การเคลือบแบบนามาโกะยูได้รับการตอบรับดีตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา และเป็นพื้นฐานในการวางรากฐานสำหรับเตาเผา Kobushi ในปัจจุบัน... เฉดสีที่ได้จะเปลี่ยนไปตามวัสดุพื้นฐาน, วัตถุดิบ และเวลาที่ผ่านไป 

  เตาเผา Kobushi มีรากฐานมาจากสภาพภูมิอากาศของเมืองฮอกไกโด ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2489 ในปีนั้น มีการเปิดเตาเผา "มิอากิ" แห่งแรกใน "ฮอกไกโดอิวามิซาวะ"...ที่ตั้งชื่อว่าเตาเผา "Kobushi" เพราะดอกไม้บานเมื่อมีการเผาเตาเผาครั้งแรก และกลายเป็นที่รู้จักกันในนาม "Kobushiyaki" ปัจจุบันถือได้ว่า เตาเผา Kobushi เป็นเตาเผาที่เก่าแก่ที่สุดในฮอกไกโด และยังรักษาจุดยืนในการผลิตตั้งแต่ปี พ.ศ. 2489


  การเคลือบชินฉะยู

   การเคลือบชินฉะยู คือการเคลือบสีแดงด้วยเตาเผา Kobushi... การเคลือบชินฉะยู มีเอกลักษณ์คือ เกิดจากการลดการเผาไหม้ของเตาเผาก๊าซ ทำให้สีที่ได้มีความโปร่งใส และมีสีสันที่สดใส... นอกจากการเคลือบเครื่องปั้นดินเผาแบบนี้แล้ว ยังมีการเคลือบแบบต่างๆอีกมากมาย เช่น การเคลือบทามามูชิ เป็นการเคลือบสีแบบเคลือบซ้ำ 

  ในช่วงที่สร้างเตาเผา Kobushi เมืองฮอกไกโด ยังเป็นดินแดนที่ขาดแคลนวัตถุดิบในการปั้นเครื่องดินเผา ช่างฝีมือจึงต้องทำงานทุกขั้นตอนเอง ตั้งแต่การเตรียมดินไปจนถึงการอบ... เนื่องจากการผลิตเครื่องปั้นดินเผาในแต่ละพื้นที่ ของประเทศญี่ปุ่น มีเตาอบที่เป็นเอกลักษณ์ของตัวเอง การผลิตจึงต้องคำนึงถึง "ภูมิอากาศในฮอกไกโด" เป็นหลัก ทำให้เตาเผาโคบุชิต้องถูกปรับ โดยการลองผิดลองถูก จนได้เป็นเตาเผาโคบุชิในปัจจุบัน... ถึงแม้ว่าปัจจุบัน เมืองฮอกไกโด จะมีวัตถุดิบที่ดีในการผลิตเครื่องปั้นดินเผา (หาจากทั่วประเทศ) แต่ก็ยังคงต้องปรับแนวทางการผลิตให้ไปตามยุค ตามสมัย โดยการนำเทคโนโลยีเชื้อเพลิง และอุปกรณ์สำหรับเตาเผามาใช้พัฒนาวิธีการผลิตให้ดียิ่งขึ้น แม้ยุคสมัยจะเปลี่ยนแปลงไป แต่ "งานฝีมือ" ยังคงได้รับการสืบทอดมาตั้งแต่สมัยอดีตกาล เตาเผา Kobushi ยังคงรักษาเทคนิคการผลิตเก่าๆให้คงอยู่ เช่น วิธีการปั้น (โรคุโระ - การทำทาทาระ) และการเคลือบ (Yuyaku) รวมไปถึงทัศนคติของช่างฝีมือที่ต้อง "ใส่ใจการทำมือ" เรียกได้ว่า นอกจากจะทำมือแล้ว ยังต้องทำด้วยใจด้วย ระยะเวลาในการผลิตนี้ใช้เวลาประมาณ 1-2 เดือน ตั้งแต่การนำดินเผาไปอบ จนถึงการปั้นด้วยมือ เพื่อให้ได้รูปทรง, ขนาด และเฉดสีที่เหมือนกัน 



ความรู้สึกขณะใช้: ตัวแก้วเป็นกระเบื้องดินเผาเคลือบ ผิวเรียบ ไล่สีสวยงาม มีความหนา เวลาดื่มให้ความรู้สึกคงทน สามารถใส่น้ำร้อนได้ แต่ไม่กันความร้อนค่ะ จุดเด่น คือ สีและการเคลือบของเครื่องปั้นดินเผา ที่มีสีที่ไล่สวยงาม ขนาดสมมาตร สวย ไม่เบี้ยว และเคลือบเงา ทำให้ถ้วยดูสวยงาม น่ามองค่ะ


สนใจสั่งซื้อสินค้า

https://ac.buy109.com/fe3adt45045et157/cl/?bId=jT2a0090 







++++ ขอบคุณที่เข้ามาชมกันค่ะ ++++


ติดตามผลงานของมี่ได้ทาง...


Comments

Popular posts from this blog

Review: VISTRA IMU-PRO C Acerola Cherry 2000 Plus

Review: เซรั่มหน้าเด็ก More Than Serum เซรั่มสเต็มเซลล์ข้าวหอมมะลิแดง

Review: สบู่ Asepso (อาเซปโซ) สูตรออริจินัล